วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

เกษตรบนคันดิน





ทำเกษตร มีหลากหลายสารพัดวิธีที่อาจไม่มีในเชิงวิชาการ แต่สำหรับวิธีนี้ผมขอเรียกง่ายๆ ว่า การปลูกผักบนคันดิน หรือ การทำคันดินปลูกผัก โดยภาษาที่เข้าใจกันในสากลบอกไว้ว่าเป็นวิธีแบบ Hugelkultur Hugelkultur คือวิธีการทำเกษตรที่เกิดจากการสังเกตุธรรมชาติ ว่าในบริเวณต้นไม้หรือกิ่งไม้ที่ล้มที่ร่วงทับถมกันในป่านั้น จะเป็นพื้นที่ที่สามารถรักษาความชื้นได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ โดยรอบ และมักจะมีตะไคร่ มอส หรือเห็ดเกาะตามขอนไม้ โดยเฉพาะในหน้าแล้ง ดินบริเวณขอนไม้ก็จะมีความชื้นมากกว่าบริเวณอื่น เมื่อไม้ย่อยสลายก็จะทำให้ดินบริเวณใกล้ๆ ขอนไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าบริเวณอื่นด้วย ตลอดระยะเวลานานนับ 10 ปี หลังจากที่เศษซากพืชถูกย่อยสลายจนหมดสิ้นแล้ว บริเวณดังกล่าวก็จะกลายเป็นกองดิน (mound) ที่มีธาตุอาหารมากมาย



เมื่อสามารถใช้พื้นที่เหล่านั้นให้เกิดประโยชน์โดยการนำพืชผักไปปลูกก็จะมีอัตราการงอกสูง เทคนิคดังกล่าวเรียกว่า Hugelkultur ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันแปลว่า mound culture น่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า วัฒนธรรมเนินดิน ซึ่งฟังดูแปลกๆ และไม่สื่อความหมายมากนัก จึงอาจใช้ชื่อว่า Hugelkultur ตามเขา หรือตามผมคือ การปลูกผักบนคันดิน หรือ การทำคันดินปลูกผัก เอาไว้เป็นแปลงเกษตรสำหรับปลูกผักนั่นเอง ทำเกษตรบนคันดิน ด้วยวิธี Hugelkultur อย่างไรให้ได้ผล วิธีการก็คือ ใช้ท่อนซุงหรือพวกกิ่งไม้ เศษใบไม้ใบหญ้าต่างๆ มากองสุมเป็นฐานและก่อเป็นแปลงผักให้สูงขึ้นเพื่อใช้ในการปลูกผักหรือทำประโยชน์ต่างๆ ด้านการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งประโยชน์ของการปลูกผักโดยวิธีนี้คือ พืชผักที่เราปลูกนั้นจะได้รับสารอาหารจากกิ่งไม้เศษไม้ที่นำมากองสุมๆ เอาไว้และถูกย่อยสลายด้วยธรรมชาติ เป็นการช่วยให้อาหารและความชื้นตามธรรมชาติ โดยแปลงเกษตรแบบนี้ แทบจะไม่ต้องรดน้ำเลย หรือใช้น้ำน้อยมากในการรดน้ำให้พืชผัก



ประสิทธิภาพที่จะได้สำหรับการปลูกผักบนคันดิน หรือการทำคันดินปลูกผักด้วยวิธี Hugelkulture นี้คือเราจะต้องทำให้แปลงผักกองสุมนี้ให้สูงและกว้าง ยิ่งสูงมากกว้างมาก ก็ยิ่งไม่ต้องเปลืองน้ำกันมาก



 แต่ขอแนะนำ ให้เอาไม้หรือซากพืชที่สามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาสั้นๆ นะครับ หากนำไม้สดมากองสุมๆ กันอาจต้องใช้เวลาเป็นปีเพื่อจะได้แปลงผักแบบนี้ แต่รับรองว่า ทำแล้วจะได้แปลงผักที่ไม่ต้องรดน้ำจนชุ่มไปอีกนานเลยทีเดียว





ข้อมูลระบุว่าการทำแปลง Hugelkulture 1 ครั้งสามารถใช้งานได้ยาวนานเกิน 10 ปี เอาไปลองกันเลย ผู้เขียนคิดว่า หากนำวิธีนี้มาจัดสวนล่ะก็ สวนจะอยู่กับเราไปอีกหลายสิบปีเลยทีเดียว ที่สำคัญไม่ต้องรดน้ำพรวนดินบ่อยๆ ดีมากๆ เลย



Read more at: http://www.kasetorganic.com/hugelkultur.html

Copyright © http://www.kasetorganic.com


Read more at: http://www.kasetorganic.com/hugelkultur.html
Copyright © http://www.kasetorganic.com

Read more at: http://www.kasetorganic.com/hugelkultur.html
Copyright © http://www.kasetorganic.com






Read more at: http://www.kasetorganic.com/hugelkultur.html
Copyright © http://www.kasetorganic.com











Read more at: http://www.kasetorganic.com/hugelkultur.html
Copyright © http://www.kasetorganic.com

ปอเทือง พืชปรับปรุงดิน


                                                                       ปอเทือง



                         ปอเทือง บำรุงดินในนาข้าวได้ผลดี SHARE ON:FacebookTwitter Google +PinterestDigg เมื่อก่อนไม่รู้จักว่าเป็นดอกอะไร ตอนแรกที่เห็นไกลๆ ก็เข้าใจว่าเป็นดอกโสน เลยคิดจะเดินไปเก็บเอามากินแกล้มกับน้ำพริกที่บ้าน แต่พอเดินไปไกลๆ เห็นใบไม่เหมือนต้นโสนบ้านนาที่ขึ้นริมทาง เลยนึกสงสัยจึงถามน้าๆ แถวนั้นว่านี่ต้นอะไร ทำไมดอกสวยจัง ทั้งยังลองสังเกตุตอนเช้า-เย็นใบจะหุบ ยิ่งต้นเล็กๆ ยิ่งหุบเหมือนจอกรอคอยแสงตะวันยามเช้า พอสว่างใบก็เริ่มบานออกดอกเหลืองอร่าม สวยงาม ที่บ้านมีน้าๆ หว่านลงบนคันนาออกดอกสวยเป็นทิวแถวสอบถามได้ความว่า ปอเทือง สามารถบำรุงดินได้ดี มิน่า น้าๆ เลยเอามาหว่านบนคันนาหลังเสร็จสิ้นการเกี่ยวข้าวก็จัดการตัดต้นปอเทืองนี้สับเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยหว่านลงในนาพร้อมฉีด EM และน้ำหมักจุลินทรีย์ปรับปรุงดินเพื่อให้ย่อยสลายซากพืชได้เร็วชึ้น ทดแทนการเผาตอซังเล่น แล้วปล่อยน้ำเข้านาให้ท่วม ประมาณอาทิตย์กว่า ทั้งฟางทั้งต้นปอเทือง ก็เกือบย่อยสลายจนหมดเป็นปุ๋ยชั้นดีสำหรับบำรุงดินแทนการใช้สารเคมี แต่ดูเหมือนต้นปอเทืองที่ปลูก มีไว้สำหรับนาแค่ 2 งานเล็กๆ เท่านั้น หากทำหลายไร่ก็คงไม่พ้น สารเคมีเหมือนเดิม จากปากคำของน้าที่รู้จัก เป็นอันว่า เกษตรกรก็ยังไม่พ้นวิบากกรรมการใช้สารเคมี เพราะพื้นที่นามีมากกว่าการจะดูแลและรอเวลา เนื่องจากชาวนาก็ต้องกินต้องใช้ ไปห้ามก็ไม่ได้ด้วย แต่นึกในใจ หากหว่านเมล็ดปอเทืองนี้ลงบนที่นาทั้งหมด ก็สามารถบำรุงดินได้เต็มพื้นที่เหมือนกัน แต่อาจเสียเวลาต้นปอเทืองโตแล้วก็ต้องไถกลบอีกครั้ง เพราะเป็นพืชที่มีคุณสมบัติบำรุงดินดีนักแล การไถกลบปอเทืองลงในแปลงนาเพื่อให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และทำให้ดินร่วนซุย ดินไม่เป็นกรดและสามารถอุ้มน้ำได้ดี รากของปอเทืองยังมีความสามารถตรึงธาตุไฮโตรเจน ซึ่งอยู่ในชั้นสูงของบรรยากาศมาเก็บไว้ที่ปมราก ทำให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องซื้อปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือยูเรียซึ่งมีราคาแพงอีกต่อไป สามารถประหยัดต้นทุนในการทำนา และผลผลิตเพิ่มขึ้น แม้ว่าผลผลิตที่ได้อาจจะได้มากกว่าเวลาที่เสียไปกว่า 2 เดือนก็ตาม แต่ระยะเวลาส่วนนี้เราก็รับประกันเค้าไม่ได้ว่าจะได้จริง นึกขึ้นได้ดังนั้นเลยไม่ได้เอ่ยอะไรต่ออีก ทำคนเดียวก็รับไปคนเดียวเต็มๆ กลับมาเก็บฝักปอเทืองที่กำลังแก่ได้ที่จากริมทางเพื่อจะเอามาหว่านลงแปลงสำหรับเตรียมปลูกผักหลายชนิดช่วงปลายฤดูหนาวนี้ น้ำเป็นอุปสรรคแรก แต่อาจไม่ใช่อุปสรรคใหญ่ ปัญหาดินเค็มยังแก้ไม่หาย หากปอเทืองรุ่นนี้เติบโตได้ดีอาจใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ผสมกับจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11 อื่นๆ ก็อาจจะได้เรื่อง ปลูกอะไรได้บ้างอย่างน้อยหากไม่ได้เลย ก็ยังได้หน้าดินสำหรับเป็นปุ๋ยชั้นดี


การใช้ปอเทืองปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าว การนำปอเทืองมาปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพดินให้กลับมาสมบูรณ์และสามารถทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นเพราะปอเทืองเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีธาตุอาหารไนโตรเจนสูงนอกจากเป็นปุ๋ยพืชสดแล้ว ยังสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ส่งขายได้ราคาดีอีกด้วย การปลูกปอเทือง จะปลูกขณะเก็บเกี่ยวข้าว โดยหว่านเมล็ดลงไป ก่อนที่รถเกี่ยวจะเกี่ยวข้าวแล้วรถเกี่ยวจะเหยียบเมล็ดปอเทืองลงดิน เป็นการกลบหน้าดินให้เมล็ดปอเทืองไปในตัว การดูแลไม่ยุ่งยาก ปอเทืองไม่ต้องการน้ำมาก ถึงอากาศแล้งปอเทืองก็จะโตยิ่งถ้าได้น้ำ จะยิ่งโตเร็วกว่าเดิม โดยในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ปอเทืองประมาณ 5 กก. ต้นปอเทืองอายุ 2 เดือน สามารถไถกลบทำปุ๋ยพืชสดได้แล้ว หรือรออีก 2 เดือนสามารถนำเมล็ดพันธุ์ส่งขายได้ ดอกปอเทืองสีเหลืองสวยสดงดงามสามารถนำมารวกจิ้มทานกับน้ำพริก รสชาติไม่แพ้ดอกโสนเลย โดยเฉพาะปอเทืองที่ปลูกอายุประมาณ 120 วัน ฝักจะแก่สามารถเก็บผลผลิตขายได้ ราคา 20 บาท/กก.ในพื้นที่ 1 ไร่ จะได้เมล็ดปอเทืองประมาณ 150 กก. ฟักปอเทือง อายุ 60-80 วัน ถ้าไม่รอเก็บฝักเมล็ดพันธุ์ขายสามารถไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินได้เลย เพื่อรอการปลูกข้าวฤดูกาลต่อไป





              การปลูกปอเทืองเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกพืชหลัก แต่การปลูกปอเทืองช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม เหมาะสำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์เพราะจะได้เมล็ดที่มีคุณภาพหลังจากเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ฝักแก่ของปอเทือง กระเทาะเอาเมล็ดส่งขายราคาดีสร้างรายได้ให้เกษตรกรไม่น้อย ราคาเฉลี่ย 20–25 บาทต่อกิโลกรัม ที่มา จุลินทรีย์บำรุงดิน พด.11 www.ldd.go.th / ปอเทืองในนาข้าว rakbankerd.com / ภาพปอเทือง manager.co.th


Read more at: http://www.kasetorganic.com/%e0%b8%9b%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87-%e0%b8%9a%e0%b8%b3%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99.html
Copyright © http://www.kasetorganic.com

เกษตรทฤษฎีใหม่





      การเกษตรทฤษฎีใหม่ SHARE ON:FacebookTwitter Google +PinterestDigg การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยใช้แนวคิดแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ของประเทศไทย ได้ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้มีชีวิตอยู่โดยหลุดพ้นบ่วงแห่งความยากจน โดยหลักการคือ การแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกนั้น ให้ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 30% ของพื้นที่ทั้งหมด เนื่องจากการเกษตร จำเป็นต้องใช้น้ำ ส่วนที่สอง ให้ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่เพราะครอบครัวต้องกินต้องใช้ สำหรับเป็นแหล่งอาหารหลัก ส่วนที่สาม ให้ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น เก็บดอกผลไว้กินไว้ขาย เสริมสร้างรายได้ส่วนหนึ่งอีกทาง และส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่สำหรับใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่งได้ตามสะดวก ตัวอย่างคือ มีที่นาอยู่ที่ 4 ไร่ จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน อาจจะได้ประมาณส่วนละ 1 ไร่ แต่ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ด้วย หากพื้นที่โดยรอบแห้งแล้วกันดาร ให้เผื่อเนื้อที่ของการปลูกต้นไม้ยืนต้นและสระเก็บน้ำมากหน่อย เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็น และหากมีแต่น้ำแต่ผืนดินไม่ชุ่มชื้นเพราะขาดต้นไม้ให้ร่มเงา น้ำก็จะขาดแคลน การแบ่งพื้นที่ดังตัวอย่างมีดังนี้ พื้นที่ส่วนที่ 1 จำนวน 1.2 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำได้มาก เพียงพอต่อการนำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตรได้ทั้งปีแต่การผันน้ำมาใช้นั้น หากพื้นที่กว้างใหญ่ เช่นมีเนื้อที่ประมาณ 12-13 ไร่ การขุดสระโดยใช้พื้นที่ถึง 3-4 ไร่นั้นยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงานเชื้อเพลิงจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ หรือหาพลังงานเชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน เป็นการจัดการทำให้ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว สำหรับพื้นที่เล็กๆ ประมาณ 1-2 ไร่ สามารถทำเป็นท้องร่องได้โดยกะให้กว้างพอประมาณไม่ให้แคบเกินไปเพราะเนื้อที่แคบน้ำจะขาดแคลน พื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ปลูกข้าว การปลูกข้าวด้วยพื้นที่ 1 ไร่ควรใช้วิธีการดำนา หรือ การปลูกข้าวต้นเดียว เพราะจะให้ผลผลิตดี ปริมาณมากกว่าการปลูกข้าวแบบหว่านปกติ เนื่องจากการปักข้าวลงดินเองจะทำให้ข้าวมีผลผลิตดี การเตรียมดิน และปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน และไถกลบ เริ่มแรกอาจมีการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนเนื่องจากถั่ว เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เจริญเติบโตเร็ว หลังเก็บเกี่ยวสามารถไถกลบและซังพืชจะเป็นปุ๋ยชั้นดีให้นาข้าว พื้นที่ส่วนที่ 3 มีทั้งหมด 1.5 ไร่ ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยสามารถปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ ปลูกกล้วยน้ำว้า ปลูกพืชผัก ปลูกไม้ใช้สอย เช่น ต้นสัก ต้นไผ่รวก ไผ่ตง หรือ ต้นหวาย โดยทั้งนี้พื้นที่การปลูกอาจใช้พื้นที่ทั้งหมดที่เหลือโดยพื้นที่สำหรับปลูกสร้างบ้านเรือนก็สามารถปลูกคร่อมพื้นที่ส่วนที่ 3 ได้เช่นเดียวกัน พื้นที่ส่วนที่ 4 นี้มีพื้นที่เหลือประมาณ 3 งาน สามารถใช้เป็นพื้นที่สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์เล็กๆ ใต้ถุนเรือน หรือผสมผสานในการปลูกบ้านเรือนยกสูงบนสระน้ำ ให้ใต้ถุนเป็นคอกเลี้ยงเป็ดไก่ หมู ติดกับสระน้ำ โดยในน้ำก็มีการเลี้ยงปลาดุกปลานิลผสมกัน เป็นแนวทางการเกษตรแบบพึ่งพาอาศัย เกษตรทฤษฎีใหม่ สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่มาก เกษตรทฤษฎีใหม่ คือแนวทางที่ยั่งยืน โดยที่แต่เดิมจะเหมาะกับเกษตรกรที่มีพื่นที่ทางการเกษตรค่อนข้างมากพอสมควร แต่สำหรับเกษตรกรที่มีมีพื้นที่ไม่มากนัก ก็สามารถที่จะทำได้โดยการลดหลั่นของพื้นที่ทำกินในแบบผสมผสานพึ่งพาอาศัย



Read more at: http://www.kasetorganic.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.html

Copyright © http://www.kasetorganic.com
   





              กระแสพระราชดำรัส    "ทฤษฎีใหม่นี้มีไว้สำหรับป้องกัน หรือถ้าในโอกาสปกติ ทำให้ร่ำรวยขึ้น ถ้าในโอกาสที่มีอุทกภัยก็สามารถ ที่จะฟื้น ตัวได้ โดยไม่ต้องให้ทางราชการไปช่วยมากเกินไป ทำให้ประชาชนพึ่งตนเองได้อย่างดี"
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
       "ขอให้ทุกคนมีความปราถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความ สงบ เปรียบเทียบ กับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ ฉะนั้น ถ้าท่าน ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิด และมีอิทธิพลมีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวม ให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้  ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ ตลอดกาล"









ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล







เงื่อนไข             
 การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ต้องอาศัย ทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน  
- เงื่อนไขความรู้    ประกอบด้วย   ความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง  ๆ   ที่ เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา    ให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ           
- เงื่อนไขคุณธรรม  ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนัก ในคุณธรรม   มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน  มีความเพียร  ใช้สติ ปัญญาในการ ดำเนินชีวิต






       เศรษฐกิจพอเพียง   คือ พระราชปรัชญาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย   เพื่อให้สังคมไทยมีชีวิตดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ว่าเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์  หรือ  การเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนพื้นฐานวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยนำมาประยุกต์ใช้  "ความพอเพียง"  หมายถึง ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล โดยสร้างภูมิ คุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กว้างขวาง  ทั้ง ทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี   โดย อาศัยความรอบรู้    รอบคอบ    และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ     มาใช้ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน      ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใน ชาติทุกระดับ ให้สำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา และความรอบคอบ มีเหตุผล           โดยที่ความพอประมาณนั้น หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอ ประมาณ  ความมีเหตุผล  หมายถึง   การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของพอเพียงนั้น จะ ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล   โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดและผลที่จะ เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง"  คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย   สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง  เช่น  ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง     สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง                การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล    คือ  มีความสุขที่แท้  ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง   หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี   จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม โดย

- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ - ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ - ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต

- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพ       แบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง - มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง - ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย








- ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือ ทุนทางสังคม
 - ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรง ปัญญาที่เฉียบแหลม  นำความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถีชีวิต  สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน







การใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะต้องมีความพอดี ๕ ประการคือ

ความพอดีด้านจิตใจ
- ต้องเข้มแข็ง สามารถพึงตนเองได้ 
- มีจิตสำนึกที่ดี 
- เอื้ออาทร ประนีประนอม           
 - นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
  
ความพอดีด้านสังคม
- ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
- รู้รักสามัคคี 
- สร้างความเข้มแข้งให้ครอบครัวและชุมชน




 ความพอดีด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
- รู้จักใช้และจัดการอย่างชาญฉลาดและรอบคอบ - เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนอย่างสูงสุด

ความพอดีด้านเทคโนโลยี
- รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม - พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน - ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก

ความพอดีด้านเศรษฐกิจ
- เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร 
- พออยู่ พอกินสมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน
 เมื่อมีการกล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะแนว  ความคิดหรือปรัชญา ในการดำรงชีวิต "ทฤษฎีใหม่"            ก็มักจะได้รับการกล่าวอ้างถึงควบคู่กันเสมอในฐานะตัวอย่างหรือแนวทางในการนำ หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเพราะทฤษฎีใหม่ คือการเลี้ยงตัวเองได้ในระดับชีวิตที่ประหยัด มีการผลิตที่พึ่งตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกินไม่อดอยาก        มีการผลิต ข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี                                      หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน  มีการ ปลูกพืชผักสวนครัว    การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้มาเป็นปัจจัยการผลิตปุ๋ย เพื่อลดค่า ใช้จ่าย และบำรุงดิน    เช่น   การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา   การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน การปลูกพืชสมุนไพร   ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย การเลี้ยงปลาในร่อง สวน ในนาข้าวและแหล่งน้ำ  เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม การเลี้ยงไก่พื้นเมือง   และไก่ไข่ ประมาณ ๑๐-๑๕ ตัว ต่อครัวเรือน   เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน   โดยใช้เศษอาหาร  รำ  และปลายข้าว จากผลผลิตการทำนา     ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่    และการทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ที่เลี้ยงไว้ รวมทั้งการประกอบอาชีพเสริม เช่น การจักสาน ถัก ทอ แปรรูปอาหาร เป็นต้น
การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น กิจกรรมทุกอย่างจะพึ่ง กันและกัน เช่น  การเลี้ยงปลาในนาข้าว  ผลผลิตจากข้าวเป็นอาหารปลา ในขณะที่ปลาจะกินแมลงศัตรูข้าว และมูลปลาเป็นปุ๋ยต้นข้าว  การปลูกผักกับการเลี้ยงไก่ ไก่กินเศษพืชผัก มูลไก่เป็นปุ๋ย สำหรับผัก    การใช้ทรัพยากรในไร่นา มูลสัตว์ทำเป็นปุ๋ยคอก เศษหญ้า ใบไม้ทำปุ๋ยหมัก เศษพืชผักเป็นอาหารปลา ฟางข้าว  ใช้เพาะเห็ด


การใช้แรงงานในครอบครัว  เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยเสริมรายได้ เช่น การแปรรูป และถนอมอาหาร     เช่น   พริกแห้ง  มะนาวดอง  กล้วยตาก  ไข่เค็ม  กระเทียมดอง  ผักดอง น้ำพริกเครื่องแกง การจักสาน หัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ เช่น ดอกไม้ ใบยาง เครื่องใช้ และเครื่องจักสานจากผักตบชวา ไม้ไผ่ กล้วย

เมื่อคนในสังคมหรือชุมชน สร้างครอบครัวพอเพียงได้แล้ว สิ่งที่จะตามมา คือ การเกิดขึ้น ของชุมชนพอเพียง    ที่สมาชิกชุมชนนั้น   จะรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมีการแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตน        บริหารจัดการปัจจัยต่าง   ๆ   เช่น ทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น   ให้สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสมดุล   และเมื่อ หลาย ๆ  ชุมชนพอเพียงมารวมกลุ่มกันแลกเปลี่ยนความรู้   สืบทอดภูมิปัญญาและร่วมกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะกลายเป็นสังคมแห่งความพอเพียงได้ในที่สุด

            การสร้างชุมชนและสังคมที่พอเพียงนั้น เกิดขึ้นได้จากกิจกรรมการผลิต  โดยเฉพาะในภาค การเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า ด้วยการหมุนเวียนทุน ธรรมชาติภายในพื้นที่และด้วยวิธี การทำเกษตรที่เน้นปลูกเพื่อกินเองก่อน และการทำกิจกรรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม    เช่น  การทำปุ๋ยชีวภาพ  การปลูกผักและข้าวที่ปลอดสารพิษ การทำสวนสมุน ไพรของชุมชน การคิดค้นสารไล่แมลงสมุนไพร   การทำถ่านชีวภาพ  การรวมกลุ่มขยายพันธุ์ปลา การแปรรูปผลผลิตและกรทำเกษตรผสมผสาน เป็นต้น   มีการรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ ร่วมมือกัน ทั้งในด้านปัจจัยและอุปกรณ์การผลิต การตลาด เงินทุน การศึกษา และชีวิตความเป็นอยู่


มีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากความรักและ เอื้ออาทรต่อกัน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด  การมนัสการพระ ให้ มาช่วยสอนจริยธรรมและศีลธรรมในโรงเรียนชุมชน   การรวมกลุ่ม เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน การจัดตั้งร้านค้าชุมชน  การจัดทำแผนแม่บทชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ การรวมอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรวมกลุ่มทำขนมของแม่บ้าน หรือรวมกลุ่มเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว        บนพื้นฐานของการปลูกฝัง สมาชิกในชุมชนให้มีความเอื้ออาทรต่อกัน มากกว่าคำนึงถึงตัวเงินหรือ วัตถุ มีความคิดที่จะแจกจ่ายแบ่งปันให้ผู้อื่น     ซึ่งจะทำให้ได้เพื่อนและ เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ดี   ที่จะช่วยลดความเห็นแก่ตัวและสร้างความพอ เพียงให้เกิดขึ้นในจิตใจ               แม้ว่าระดับความพอเพียงของแต่ละคนจะไม่เท่าเทียมกันแต่ ทุกคนก็สามารถดำเนินชีวิตตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วยการ ยึดมั่นในหลักการ ๓ ประการ เหมือนกัน คือ               การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง รู้จักพัฒนาตนเอง ด้วยการพยายามทำจิตใจให้ผ่องใส รวมทั้งมีความเจริญและมีความเย็น ในจิตใจอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง               การคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในการดำเนิน กิจกรรมต่าง ๆ     คือ  เมื่อปัญหาจากการดำเนินชีวิต ก็ให้ใช้สติปัญญา ไตร่ตรองหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขไปตามเหตุและปัจจัย     ด้วย ความสามารถและศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ก่อนที่จะคิดพึ่งผู้อื่น และมี การปรึกษาหารือถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน              การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักลดกิเลสและลดความต้องการ ของตนเองลง    เพื่อให้เหลือแรงและเวลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากขึ้น

ข้อมูลจาก : หนังสือเศรษฐกิจพอเพียง , องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี